
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สถาปนิก บทบาทของสถาปนิกอิสระในการออกแบบ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ สถาปนิก ผู้ออกแบบ
บทบาทของสถาปนิก
สถาปนิก (Architect) คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้
อิสระในการออกแบบ
รองรับการออกแบบหลังคาได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น จั่ว ปั้นหยา โค้ง ให้อิสระในการออกแบบหลังคาได้มากยิ่งขึ้น
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ. สภาสถาปนิก 2543) เรียกย่อว่า ก.ส. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และ ภูมิสถาปัตยกรรม ใบประกอบวิชาชีพฯมี 4 ระดับเรียงจากสูงไปต่ำ คือ วุฒิสถาปนิก สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก และ สถาปนิกภาคีพิเศษขอบเขตงานที่ควบคุมในสาขาต่างๆ ถูกกำหนดไว้โดยในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2549) ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก
สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
- ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
- ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
- การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
- บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration) สถาปนิก